ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย คะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 3

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่  28 มกราคม 2558
ครั้งที่ 3   เวลา 08.30 - 12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



ความรู้ที่ได้รับ / กิจกรรมในห้องเรียน
                     เรื่องที่ 1  ก่อนจะเข้าสู่บทเรียน อาจารย์นำภาพถ่ายดอกกุหลาบสองสีซึ่งถ่ายมาจากกุกลาบที่บ้านของอาจารย์เอง นำมาให้นักศึกษาได้ดูและได้วาด ซึ่งมีคำสั่งให้วาดภาพดอกกุหลาบสองสีให้ออกมาได้เหมือนที่สุดพร้อมระบายสีให้สวยงาม และเขียนลงไปในกระดาษที่วาดว่าเราเห็นอะไรในภาพบ้าง ซึ่งงานชิ้นนี้จะไปเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนได้อย่างไร เชิญติดตามต่อไปเรื่อยๆนะคะ และนี่คือผลงานของดิฉัน ซึ่งตั้งใจวาดและระบายสี เนื่องจากใจรักในศิลปะการวาดภาพ จึงทำให้งานออกมาน่าภาคภูมิใจคะ

นี่คือภาพถ่ายที่อาจารย์นำมาให้ นศ ได้ดูและวาดตาม


นี่คือภาพวาดที่ร่างโดยตนเอง จะเป็นคนที่ชอบวาดมากกว่าการระบายสี


และนี่คือภาพที่ผ่านการระบายสีเรียบร้อยแล้ว

           สิ่งที่มองเห็นในภาพนี้คือดอกกุหลาบที่มีสองสีมีสีขาวและแดงอมชมพู มีกลีบหลายกลีบและมีดอกขนาดใหญ่ที่เบ่งบานอย่างสะพรั่ง และสวยงาม นี่คือสิ่งที่ดิฉันเห็นและคิดออกมาจากภาพ

           แต่ความเป็นจริงแล้วอาจารย์เพียงแค่อยากให้เราสังเกตและมองตามความเป็นจริง บรรยายตามความเป็นจริงว่าเราเห็นอะไรในภาพบ้างเปรียบเสมือนเราสังเกตเด็กพิเศษคนหนึ่ง เราก็ต้องสังเกตและบันทึกตามความเป็นจริง ไม่ควรแต่งเติมสิ่งอื่นใด ดั่งคำบรรยายของภาพดอดกุหลาบถ้าเปรียบกับเด็กพิเศษการบันทึก การสังเกต เราไม่ควรต่อเติมจากความเป็นจริง คือคำว่า สะพรั่ง และ สวยงาม นั่นเอง


                                                                                                                         
                     เรื่องที่ 2  เป็นการเรียนใน PWP ในหัวข้อเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้....
1. ครูไม่ควรวินิจฉัย ให้เป็นหน้าที่ของหมอ เราเป็นครูทำได้เพียงสันนิษฐานแต่ไม่ควรตัดสินว่าเด็กเป็นจริงหรือไม่
2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ชื่อเสมือนตราประทับตัวเด็กไปตลอด ถ้าเราเรียกฉายาเด็กเช่น น้องสวย เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ จะคิดว่าตัวเองสวยและจะเปลี่ยนบุคลิกนั้นไปเลย ตามชื่อของฉายาที่โดนตั้งให้
3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ของเด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ บางครั้งมันเป็นสิ่งที่พ่อและแม่เขารู้อยู่แล้ว ครูควรจะมีเทคนิคในการพูดกับผู้ปกครองคือพูดในเชิงบวกว่าน้องทำอะไรได้ แต่แฝงให้ผู้ปกครองได้คิดว่าน้องทำอะไรไม่ได้ เป็นต้น
4. ครูทำอะไรบ้าง สังเกตเด็กอย่างมีระบบ และเขียนบันทึกตามความเป็นจริง
5. การตรวจสอบ เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น และบอกได้ว่าเรื่องใดที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ุ6. ข้อควรระวังในการปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้ เนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
7. การบันทึกการสังเกต ประกอบด้วย การนับอย่างง่ายๆ การบันทึกต่อเนื่อง และการบันทึกไม่ต่อเนื่อง


8. การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดองความบกพร่อง และพฤติไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ สิ่งบางสิ่งอันไหนผู้ใหญ่ทำได้และเด็กพิเศษทำ ถือว่าปกติ
9. การตัดสินใจ สำคัญมากต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง และการตัดสินพฤติกรรมเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


                     เรื่องที่ 3  อาจารย์มี post test มาให้ นศ ได้ทำ แต่คราวนี้เป็นการช่วยกันตอบทั้งห้อง





                    เรื่องที่ 4  อาจารย์แจกใบเพลง ในวันนี้ร้องเพลงเดียวคือเพลงฝึกกายบริหาร รอบแรกอาจารย์ร้องให้ฟังก่อนเพื่อเป็นแนวทาง พร้อมกับให้จังหวะ และรอบสองให้ร้องตามทีละท่อนเพื่อจับจังหวะ เสียงต่ำเสียงสูงและรอบต่อๆไปให้ร้องเอง เพื่อเป็นการฝึก


เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่างไว
รูปทรงสมส่วนแค่วคล่องว่องไว

                                                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ







การนำไปประยุกต์ใช้
  • การสังเกตเด็กจากความเป็นจริงจะเป็นผลดีต่อครู 
  • เทคนิคการสังเกต เราไม่ควรแต่งเติม สามารถนำไปสังเกตได้กับเด็กทุกคนทั้งเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  • นำเพลงไปร้องให้เด็กฟัง สอนเด็กร้องเพลง ให้เป็นความเคยชินเพื่อจะได้รู้สัญญาณในการทำสิ่งต่างๆ ของกิจกรรมนั้นๆได้



การประเมิน
  • ประเมินตนเอง :  เข้าเรียนก่อนเวลา มีส่วนช่วยในการจัดโต๊ะเรียนรอเพื่อนมาเรียน มีความตั้งใจวาดภาพและระบายสีดอกกุหลาบสองสีเป็นอย่างมาก จดบันทึกในคำพูดเพิ่มเติมจากพ้อยอาจารย์เพื่อให้ตนเองเข้าใจง่ายขึ้น วันนี้ร้องเพลงด้วยความสนุกสนาน เรียนในวันนี้ไม่เครียดเท่าไรคะ
  • ประเมินเพื่อน :  มีความตั้งใจในการทำผลงานของตนเอง ทุกคนวาดออกมาสวยงามและเขียนคำบรรยายได้ซึ้งราวกับนิยาย ถึงแม้ไม่ตรงตามที่อาจารย์ต้องการเกี่ยวกับการสังเกตแต่เพื่อนก็บรรยายตามความรู้สึกของเพื่อนๆเองจริงๆ เพื่อนๆบางคนยังร้องเพลงเพี้ยนบ้างแต่ก็ดีขึ้นตามลำดับ
  • ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมที่น่าสนใจมาให้ทำตลอด เวลาสอนมีการยกตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ร้องเพลงเสียงหวานมาก ใสใสคะ อาจารย์น่ารักทุกคาบที่เจอกัน เป็นตัวของตัวเองดี ชอบคะ


                    



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น