ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย คะ

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน
วัน ศุกร์ ที่ 1 พฤษภาคม 2558
ครั้งที่  13 เวลา 08.30 - 12.20 น.  
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

  ความรู้ที่ได้รับ / กิจกรรมในห้องเรียน
                 
  เรื่องที่ 1  ในวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอน เป็นวันที่อาจารย์นัดสอบร้องเพลง โดยมีการจับสลากของเลขที่โดยอาจารย์เป็นคนจับเอง จากนั้นให้นักศึกษาในเลขที่ที่อาจารย์จับได้ต้องออกมาจับสลากเพลง ในสลากจะมีเนื้อเพลงอยู่ด้วย  ซึ่งมีกติกาดังนี้

  1. ถ้าเปลี่ยนเพลง หัก 0.5 คะแนน
  2. ถ้าดูเนื้อเพลง หัก 1 คะแนน
  3. ถ้าให้เพื่อนช่วยร้องโดยการใช้ตัวช่วย หัก  1 คะแนน
  4. ถ้าร้องเพลงลุงมาชาวนาได้ จะได้เพิ่ม 1 คะแนน
และในวันนี้หนูจับได้เพลงเที่ยวท้องนา สิ่งที่ภูมิใจคือ ได้ดาวมาด้วย 1 ดวง ^^


และนี่ก็คือ VDO เพลงที่หนูร้อง ซึ่งเพื่อนได้แอบถ่ายไว้ น่าเสียดายถ่ายเกือบจะจบแล้ว แต่ก็ได้เห็นตัวเองในบาบาทของความเป็นครูความกล้าที่จะแสดงออก ออกมาในทางที่ดีและน่ารัก :)






                   
 และนี่ก็คือภาพความทรงจำดีดี ระหว่างอาจารย์เบียร์และนักศึกษาทุกๆคน <3


 

การนำไปประยุกต์ใช้

จากการที่ได้สอบร้องเพลง ทำให้ได้รู้ถึงความสามารถในการร้องเพลงของตนเองและจะพยายามร้องให้ดียิ่งขึ้นๆไป เพื่อที่จะได้นำไปสอนเด็กร้องเพลงได้อย่างมีความสุขและสนุกกับการร้องเพลงกับเด็กๆค่ะ





การประเมิน
ประเมินตนเอง : วันนี้ร้องเพลงออกมาได้ดีและมีความสุขกับการที่ได้ร้องเพลง สามารถทำให้อาจารย์เบียร์และเพื่อนๆมีรอยยิ้มและสนุกร่วมกันกับเสียงเพลงที่หนูร้องค่ะ
ประเมินเพื่อน :  วันนี้เพื่อนๆทุกคนได้ทำเต็มที่และสุดความสามารถกันแล้วค่ะ คนที่ร้องยังไม่ค่อยดีก็ขอให้มีความพยายาม ฝึกฝนกันไป สักวันหนึ่งเพื่อนจะร้องเพลงได้เพราะขึ้นค่ะ สู้ๆ
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์เป็นคนน่ารัก ไม่อยากให้วันนี้ต้องเป็นวันสุดท้ายของการสอนเลย จะมีอาจารย์สักกี่คนที่เข้าใจนักศึกษาได้ดีเท่าอาจารย์เบียร์ หายากมากๆ มากที่สุด หนึ่งในร้อยจริงๆค่ะอาจารย์บียร์ <3

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 22 เมษายน 2558
ครั้งที่  12 เวลา 08.30 - 12.20 น.  
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย




ความรู้ที่ได้รับ / กิจกรรมในห้องเรียน
                     เรื่องที่ 1  อาจารย์มีเกมผ่อนคลาย สนุกๆมาให้เล่นเหมือนเช่นเคย เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระโดดร่ม



                       เรื่องที่ 2  เข้าสู่เนื้อหา ในหัวข้อเรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล

 แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก (ต้องระบุให้ชัดเจน)
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
 IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
 ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู็ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่เด็กพิเศษ ผู้บริหาร
     2.  การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
  1. น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
  2. น้องดาวร่วมมือกับผู็อื่นได้ดี
  3. น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น (จะบอกเป็นพฤติกรรมเด็กเลย)
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • เช่น น้องต้องจับช้อนได้
  • ต้องมี 4 หัวข้อนี้ 
  1. จะสอนใคร
  2. พฤติกรรมอะไร (สอนอะไร)
  3. เมื่อไร ที่ไหน (ททที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
  4. พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง เช่น
  • ใคร                    อรุณ
  • อะไร                  กระโดดขาเดียวได้
  • เมื่อไร / ที่ไหน   กิจกรรมกลางแจ้ง
  • ดีขนาดไหน       กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
  • ใคร                    ธนกรณ์
  • อะไร                  นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
  • เมื่อไร / ที่ไหน   ระหว่างครูเล่านิทาน
  • ดีขนาดไหน       ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
     3. การใช้แผน (อย่าลืมการย่อยงาน)
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน

  • ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้ววัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
     4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน **





                       เรื่องที่ 3  อาจารย์แจกตัวอย่างการเขียนแผน IEP จากนั้นอธิบายเกี่ยวกับแผนถึงหลักวิธีการเขียน หลังอธิบายเสร็จ ก็ให้จับกลุ่ม 5 คน เพื่อฝึกเขียนแผน IEP





                      เรื่องที่ 4   เเจกใบแผน IEP ให้กลับไปทำเป็นการบ้านแล้วนำมาส่งสัปดาห์หน้า



การนำไปประยุกต์ใช้
  • เป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้เขียนแผน IEP สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้หากว่าต้องเจอกับเด็กพิเศษจริงๆ

การประเมิน
  • ประเมินตนเอง : พอจะเข้าใจหลักการและวิธีการเขียนแผน IEP แต่จะติดตรงที่ว่าคือเข้าใจและพูดเป็นภาษาตนเองได้แต่ไม่สามารถนำคำพูดเหล่านั้นมาเขียนเรียบเรียงคำพูดลงไปในแผน IEP ได้
  • ประเมินเพื่อน :  ตั้งใจเรียนทั้งสองกลุ่ม และงานกลุ่มก็ให้ความช่วยเหลือกันดีภายในแต่ละกลุ่ม
  • ประเมินอาจารย์ :  สอนดี มีเกมมาให้ร่วมสนุกตลอด บอกึงรายละเอียดของเนื้อหาทุกอย่างมีตัวอย่างยกให้ดูเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 8 เมษายน 2558
ครั้งที่  11 เวลา 08.30 - 12.20 น.  
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



ความรู้ที่ได้รับ / กิจกรรมในห้องเรียน
                     เรื่องที่ 1  อาจารย์แจกสีให้นักศึกษาทุกคน




                       เรื่องที่ 2  อาจารย์เฉลยข้อสอบที่สอบไปครั้งที่แล้ว


                       เรื่องที่ 3  อาจารย์แจกใบเพลงและสอนร้องเพลงไปพร้อมๆกัน ซึ่งเพลงมีทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้

เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูง บินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตาม ท้องไร่ ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยว เพลิดเพลิน
ฉันเดิน พบอีก ฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง แม่ไก้ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง 
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ ของฉันไข่ ทุกวัน
1 วัน ได้ไข่ 1 ฟอง

เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัว ที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้ แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัว ก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่ เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมา ชาวนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอา ไว้ใช้ ไถนา
ลุงมา ชาวนา เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้ เป็นเพื่อน ลุงมา
* หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมา ไถนา วัวร้อง มอ มอ

                                                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ



                      เรื่องที่ 4   เข้าสู่เนื้อหา ในหัวข้อเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

  เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีมากสำหรับเด็กพิเศษ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่  เวลาสั่งสั่งทีละเรื่อง
การรับรู้้ การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น ----->> ตอบสนองอย่างเหมาะสม
         การควบคุมกล้ามเนื้อ
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
         ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ (ชิ้นใหญ่ มีน้ำหนัก)
  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไรคะ
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์
  • นับขั้น
  • รูปเราขาคณิต
  • มิติสัมพันธ์ บน-ล่าง
 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรมากที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก
ตัวอย่างในวันนี้

อยากให้น้องดาวน์เดินไปหยิบสีให้  น้องมิ้นคือน้องดาวน์ เวลาสั่งคือเราอยากให้น้องเลียนแบบเพื่อน
ครูเรียก : น้องมิ้น น้องอั๋น ไปหยิบสีให้ครูคนละแท่งซี๊
น้องอั๋นจะลุก น้องมิ้นก็ลุก
อั๋นหยิบ มิ้นหยิบ
เวลาสั่งต้องเรียกน้องดาวน์ก่อนเสมอ

-------------------------------------------------
การเล่านิทาน
เล่ารอบแรกให้จบก่อนสำหรับเด็กปกติ รอบที่สองค่อยเล่าแล้วถามเป็นช่วงๆ เอ!!!!!!!! ยังไงต่อนะ เป็นต้น
เด็กทั่วไปมีความสนใจ ประมาณ 10 นาที แต่ก็เกิน 5 นาทีแน่นอน
เด็กพิเศษ
น้องดาวน์ ประมาณ 5 นาที
สมาธิสั้น ประมาณ 2 นาทียังไม่ถึงเลย หรือนิทานหน้าเดียวก็ไม่จบ สิ่งที่ครูควรทำคือ 
  1. พยายามเลือกนิทานที่น้องสนใจ
  2. ให้น้องเข้ามามีส่วนร่วม
  3. นิทานที่เลือกมาไม่ยาวมาก สั้นๆ 6-7 หน้า
  4. การถามกลางทางเป็นการดึงสติน้อง

การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเขียนแผน IEP ได้อย่างถูกหลักการของเนื้อหา
  • นำเทคนิคตัวอย่างต่างๆไปใช้ได้ในเวลาพบเหตุการณ์จริงๆ
  • นำเพลงไปร้องให้เด็กฟัง สอนเด็กร้อง เด็กได้ความสุข สนุกสนาน และจะซึมซับความรู้ในเนื้อหาของเพลงด้วย


การประเมิน
  • ประเมินตนเอง : มาเรียนสายนิดหน่อย แต่มีความพยายามที่จะมา ถึงแม้ฝนจะตก มีสมาธิดี ไม่ค่อยคุยแข่งกับอาจารย์ ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ยกตัวอย่างและจดเพิ่มเติมในสิ่งไม่มีใน PWP
  • ประเมินเพื่อน :  คุยเป็นบางกลุ่ม มีการตอบสนองต่อการเรียนได้ดีพอสมควร ต้องคอยดึงสติกลับมาตลอด แต่ก็ตั้งใจเรียน
  • ประเมินอาจารย์ :  มีความอดทนต่อนักศึกษามาก ไม่ว่านักศึกษาจะคุยเยอะคุยแข่งกับอาจารย์มากขนาดไหน อาจารย์ก็พยายามใช้คำพูดเพื่อดึงสตินักศึกษากลับมาได้เสมอ มีการเรียงลำดับวิธีการสอนได้ดี ทำให้ไม่น่าเบื่อ มีเพลงมาให้ร้อง พูดคุย สนุกสนาน และเป็นกันเองมากๆค่ะ