ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย คะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 3

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่  28 มกราคม 2558
ครั้งที่ 3   เวลา 08.30 - 12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



ความรู้ที่ได้รับ / กิจกรรมในห้องเรียน
                     เรื่องที่ 1  ก่อนจะเข้าสู่บทเรียน อาจารย์นำภาพถ่ายดอกกุหลาบสองสีซึ่งถ่ายมาจากกุกลาบที่บ้านของอาจารย์เอง นำมาให้นักศึกษาได้ดูและได้วาด ซึ่งมีคำสั่งให้วาดภาพดอกกุหลาบสองสีให้ออกมาได้เหมือนที่สุดพร้อมระบายสีให้สวยงาม และเขียนลงไปในกระดาษที่วาดว่าเราเห็นอะไรในภาพบ้าง ซึ่งงานชิ้นนี้จะไปเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนได้อย่างไร เชิญติดตามต่อไปเรื่อยๆนะคะ และนี่คือผลงานของดิฉัน ซึ่งตั้งใจวาดและระบายสี เนื่องจากใจรักในศิลปะการวาดภาพ จึงทำให้งานออกมาน่าภาคภูมิใจคะ

นี่คือภาพถ่ายที่อาจารย์นำมาให้ นศ ได้ดูและวาดตาม


นี่คือภาพวาดที่ร่างโดยตนเอง จะเป็นคนที่ชอบวาดมากกว่าการระบายสี


และนี่คือภาพที่ผ่านการระบายสีเรียบร้อยแล้ว

           สิ่งที่มองเห็นในภาพนี้คือดอกกุหลาบที่มีสองสีมีสีขาวและแดงอมชมพู มีกลีบหลายกลีบและมีดอกขนาดใหญ่ที่เบ่งบานอย่างสะพรั่ง และสวยงาม นี่คือสิ่งที่ดิฉันเห็นและคิดออกมาจากภาพ

           แต่ความเป็นจริงแล้วอาจารย์เพียงแค่อยากให้เราสังเกตและมองตามความเป็นจริง บรรยายตามความเป็นจริงว่าเราเห็นอะไรในภาพบ้างเปรียบเสมือนเราสังเกตเด็กพิเศษคนหนึ่ง เราก็ต้องสังเกตและบันทึกตามความเป็นจริง ไม่ควรแต่งเติมสิ่งอื่นใด ดั่งคำบรรยายของภาพดอดกุหลาบถ้าเปรียบกับเด็กพิเศษการบันทึก การสังเกต เราไม่ควรต่อเติมจากความเป็นจริง คือคำว่า สะพรั่ง และ สวยงาม นั่นเอง


                                                                                                                         
                     เรื่องที่ 2  เป็นการเรียนใน PWP ในหัวข้อเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้....
1. ครูไม่ควรวินิจฉัย ให้เป็นหน้าที่ของหมอ เราเป็นครูทำได้เพียงสันนิษฐานแต่ไม่ควรตัดสินว่าเด็กเป็นจริงหรือไม่
2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ชื่อเสมือนตราประทับตัวเด็กไปตลอด ถ้าเราเรียกฉายาเด็กเช่น น้องสวย เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ จะคิดว่าตัวเองสวยและจะเปลี่ยนบุคลิกนั้นไปเลย ตามชื่อของฉายาที่โดนตั้งให้
3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ของเด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ บางครั้งมันเป็นสิ่งที่พ่อและแม่เขารู้อยู่แล้ว ครูควรจะมีเทคนิคในการพูดกับผู้ปกครองคือพูดในเชิงบวกว่าน้องทำอะไรได้ แต่แฝงให้ผู้ปกครองได้คิดว่าน้องทำอะไรไม่ได้ เป็นต้น
4. ครูทำอะไรบ้าง สังเกตเด็กอย่างมีระบบ และเขียนบันทึกตามความเป็นจริง
5. การตรวจสอบ เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น และบอกได้ว่าเรื่องใดที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ุ6. ข้อควรระวังในการปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้ เนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
7. การบันทึกการสังเกต ประกอบด้วย การนับอย่างง่ายๆ การบันทึกต่อเนื่อง และการบันทึกไม่ต่อเนื่อง


8. การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดองความบกพร่อง และพฤติไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ สิ่งบางสิ่งอันไหนผู้ใหญ่ทำได้และเด็กพิเศษทำ ถือว่าปกติ
9. การตัดสินใจ สำคัญมากต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง และการตัดสินพฤติกรรมเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


                     เรื่องที่ 3  อาจารย์มี post test มาให้ นศ ได้ทำ แต่คราวนี้เป็นการช่วยกันตอบทั้งห้อง





                    เรื่องที่ 4  อาจารย์แจกใบเพลง ในวันนี้ร้องเพลงเดียวคือเพลงฝึกกายบริหาร รอบแรกอาจารย์ร้องให้ฟังก่อนเพื่อเป็นแนวทาง พร้อมกับให้จังหวะ และรอบสองให้ร้องตามทีละท่อนเพื่อจับจังหวะ เสียงต่ำเสียงสูงและรอบต่อๆไปให้ร้องเอง เพื่อเป็นการฝึก


เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่างไว
รูปทรงสมส่วนแค่วคล่องว่องไว

                                                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ







การนำไปประยุกต์ใช้
  • การสังเกตเด็กจากความเป็นจริงจะเป็นผลดีต่อครู 
  • เทคนิคการสังเกต เราไม่ควรแต่งเติม สามารถนำไปสังเกตได้กับเด็กทุกคนทั้งเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  • นำเพลงไปร้องให้เด็กฟัง สอนเด็กร้องเพลง ให้เป็นความเคยชินเพื่อจะได้รู้สัญญาณในการทำสิ่งต่างๆ ของกิจกรรมนั้นๆได้



การประเมิน
  • ประเมินตนเอง :  เข้าเรียนก่อนเวลา มีส่วนช่วยในการจัดโต๊ะเรียนรอเพื่อนมาเรียน มีความตั้งใจวาดภาพและระบายสีดอกกุหลาบสองสีเป็นอย่างมาก จดบันทึกในคำพูดเพิ่มเติมจากพ้อยอาจารย์เพื่อให้ตนเองเข้าใจง่ายขึ้น วันนี้ร้องเพลงด้วยความสนุกสนาน เรียนในวันนี้ไม่เครียดเท่าไรคะ
  • ประเมินเพื่อน :  มีความตั้งใจในการทำผลงานของตนเอง ทุกคนวาดออกมาสวยงามและเขียนคำบรรยายได้ซึ้งราวกับนิยาย ถึงแม้ไม่ตรงตามที่อาจารย์ต้องการเกี่ยวกับการสังเกตแต่เพื่อนก็บรรยายตามความรู้สึกของเพื่อนๆเองจริงๆ เพื่อนๆบางคนยังร้องเพลงเพี้ยนบ้างแต่ก็ดีขึ้นตามลำดับ
  • ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมที่น่าสนใจมาให้ทำตลอด เวลาสอนมีการยกตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ร้องเพลงเสียงหวานมาก ใสใสคะ อาจารย์น่ารักทุกคาบที่เจอกัน เป็นตัวของตัวเองดี ชอบคะ


                    



วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 2

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่  21 มกราคม 2558
ครั้งที่ 2   เวลา 08.30 - 12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


ความรู้ที่ได้รับ / กิจกรรมในห้องเรียน
                     เรื่องที่ 1  วันนี้เรียนรวมกันกับภาคสมทบ ทำให้ได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ พร้อมทั้งวันนี้อาจารย์ได้สอนเพลงต่ออีก 4 เพลง การสอนร้องเพลงจะเหมือนกับครั้งที่แล้ว อาจารย์จะร้องให้ฟังก่อนพร้อมกับเคาะจังหวะไปด้วย ซึ่งเพลงอีก 4 เพลง มีดังนี้....

เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว  ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว  สุขกายสบายใจ


เพลง แปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง


เพลง พี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน


เพลง มาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมือมาโรงเรียน
                                                                           
                                                                                  ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ

เพลงทุกเพลงมีเนื้อร้องที่ต่างกัน มีทำนองและจังหวะที่ต่างกัน การร้องเพลงให้เด็กพิเศษฟังจะต้องมีเสียงต่ำ เสียงสูง จะทำให้เด็กสนใจมากยิ่งขึ้น เพลงช่วยในการบำบัดได้จริงๆ ถ้าเรารู้จักเลือกเพลงให้เหมาะสม
                     เรื่องที่ 2  เป็นการเรียนใน PWP ในหัวข้อเรื่อง การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งมีหัวข้อดังนี้....
1. รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป 
  • การศึกษาพิเศษ
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม
  • การศึกษาแบบเรียนรวม

2. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. การศึกษาแบบเรียนร่วม 
- ความหมาย
          การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กปกติทำร่วมกัน โดยใช้ช่วงเวลาใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ทั้งครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษจะต้องร่วมมือกันด้วย ซึ่งแบ่งออกได้ 2 อย่าง คือ การเรียนร่วมบางเวลาและการเรียนร่วมเต็มเวลา
- การเรียนร่วมบางเวลา 
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

- การเรียนร่วมเต็มเวลา
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบรการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
4. การศึกษาแบบเรียนรวม
- ความหมาย 
  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  •  เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน Education for All
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
5. ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • " สอนได้ "
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด



การนำไปประยุกต์ใช้
  • เพลงทุกเพลงสามารถบำบัดเด็กพิเศษได้ ดังนั้นเพลงมีความสำคัญที่คนเป็นครูปฐมวัยจะนำเพลงที่ได้ศึกษาและร้องในวันนี้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันและในอนาคตเมื่อเราเจอเด็กพิเศษจริงๆ
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง :  วันนี้ตั้งใจร้องเพลงและตั้งใจฟังอาจารย์สอนใน PWP 
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนและร้องเพลงเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนเด็กเยอะมากแต่การเรียนการสอนต่อจำนวน นศ. ก็ไม่ใช่อุปสรรคสำหรับอาจารย์ อาจารย์มีวิธีการสอนที่น่าสนใจตามฉบับและสไตล์อาจารย์เบียร์เอง เป็นกันเองกับนักศึกษาทุกคนและคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่มีผลกระทบในทางที่ไม่ดีกับนักศึกษา อาจารย์เป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาได้อุ่นใจทุกครั้งเมื่อขอคำปรึกษา 


                    


บันทึกสัปดาห์ที่ 1

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 14 มกราคม 2558
ครั้งที่ 1   เวลา 08.30 - 12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ
                     เรื่องที่ 1 วันนี้อาจารย์นำประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจมาเล่าให้นักศึกษาฟังเกี่ยวการเดินทางไปพัฒนาห้องเรียนของเด็กอนุบาล ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีประโยชน์มาก มันทำให้นึกถึงว่าถ้าเป็นปีของเราเองจะเป็นแบบนี้ไหมนะ จะเจอเหตุการณ์แบบที่อาจารย์เจอหรือเปล่า อาจารย์เล่าได้สนุกและน่าประทับใจกับเรื่องราวที่ได้เจอ ก็ถือว่าเป็นการแชร์ประสบการณ์ที่ดีให้นักศึกษาได้ฟังนั่นเองคะ และดิฉันหวังว่าถ้าเป็นปีของดิฉันคงจะสนุกมากแน่ๆเลย  
                     เรื่องที่ 2 อาจารย์นำข้อสอบปลายภาคที่ผ่านมา มาให้นักศึกษาได้ดูว่านักศึกษาผิดตรงไหนมีความบกพร่องทางความคิดตรงไหน ทำไมถึงตอบผิด และผิดเพราะอะไร และก็เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาไปด้วย


กิจกรรมในห้องเรียน
                    กิจกรรมที่ 1 อาจารย์แจกใบความรู้จากวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เป็นการให้นักศึกษาได้ทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะเริ่มเรียนในวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                    กิจกรรมที่ 2 อาจารย์แจกใบเพลงสำหรับร้องให้เด็กพิเศษ ซึ่งในใบเพลงมีทั้งหมด 5 เพลง แต่ในวันนี้จะร้องเพียง 1 เพลง คือเพลง นม อาจารย์ได้ร้องให้ฟัง 2 รอบ พร้อมกับให้จังหวะด้วยเครื่องดนตรี และต่อมาก็ให้นักศึกษาได้ร้องเอง ซึ่งเพลงนี้ก็เป็นเพลงแรกและครั้งแรกที่ดิฉันได้ฟังและได้ร้อง ทำให้ได้เพลงใหม่ๆ และได้ประสบการณ์เพิ่มในการร้องเพลง ซึ่งเพลงนมมีเนื้อหาดังนี้....

เพลงนม
นมเป็นอาหารดี  มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ  ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง  ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ  ร่างกายแข็งแรง

การนำไปประยุกต์ใช้
  • การนำองค์ความรู้เดิมไปปรับใช้จริงกับเด็กพิเศษที่จะต้องเจอภายในภาคหน้า 
  • สามารถนำเพลงที่ร้องในวันนี้ไปร้องให้เด็กๆฟัง ไม่ใช่ว่าจะจำเป็นต้องเด็กพิเศษเพียงอย่างเดียว 
  • สามารถนำเพลงไปใช้ในการสอนได้ รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ และวิชาอื่นๆที่เกี่ยงข้องกับเด็กปฐมวัย


การประเมิน
  • ประเมินตนเอง :  วันนี้ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์เล่าเรื่องทั้งประสบการณ์และเฉลยข้อสอบปลายภาค ได้เสียงหัวเราะ และวันนี้เข้าเรียนก่อนเวลาเรียนด้วยค่ะ ทำให้รู้ว่าอยากเรียนกับอาจารย์จริงๆ
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังกันมาก ให้ความสนใจกับเรื่องที่อาจารย์เล่า มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และตั้งใจทำกิจกรรมภายในชั้นเรียน
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักเหมือนเดิมเลยค่ะ พูดเพราะ แต่งตัวเหมาะสมกับการเป็นครู ชอบที่อาจารย์เล่าเรื่อง มันมีทั้งความตื่นเต้นและสนุกสนาน กับเรื่องราวต่างๆ ร้องเพลงก็เพราะด้วยค่ะ