บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 11 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 7 เวลา 08.30 - 12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่องที่ 1 อาจารย์นำเรื่องของการสอบบรรจุมาเล่าให้ฟัง ซึ่งการสอบบรรจุมีอยู่ 3 ด่าน ภาค ก , ภาค ข และ สอบสัมภาษณ์
เรื่องที่ 2 นำกิจกรรมมาให้เล่น เรื่อง เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า โดยการให้ทุกคนตอบคำถามตาม PWP ที่อาจารย์ให้คำถามมา ทุกคนต่างตอบของตนเองโดยไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วผลของคำตอบนั้นคืออะไร จนสุดท้ายเฉลยของอาจารย์ในการตอบนั้น ทำให้ทุกคนในห้องล้วนมีแต่ความสนุก ตลก ขบขัน ทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้ดีและทำให้มีความพร้อมที่จะเรียนมากขึ้น
เรื่องที่ 2 นำกิจกรรมมาให้เล่น เรื่อง เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า โดยการให้ทุกคนตอบคำถามตาม PWP ที่อาจารย์ให้คำถามมา ทุกคนต่างตอบของตนเองโดยไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วผลของคำตอบนั้นคืออะไร จนสุดท้ายเฉลยของอาจารย์ในการตอบนั้น ทำให้ทุกคนในห้องล้วนมีแต่ความสนุก ตลก ขบขัน ทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้ดีและทำให้มีความพร้อมที่จะเรียนมากขึ้น
เรื่องที่ 3 เข้าสู่เนื้อหา ในหัวข้อเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
- ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง
- ติดอ่าง
การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ . ตามสบาย . คิดก่อนพูด
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การแสดงท่าทาง การแสดงสีหน้า
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า )
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไร ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
เรื่องที่ 4 อาจารย์.ให้นักศึกษาร้องเพลงทบทวนจากครั้งที่แล้วทั้งหมดเพลงทั้ง 6 เพลง ก็จะมีเพลงดวงอาทิตย์ , เพลงดวงจันทร์ , เพลงดอกมะลิ , เพลงกุหลาบ , เพลงนกเขาขัน , เพลงรำวงดอกมะลิค่ะ
เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่ อาทิตย์ ทอแสงทอง
เป็นประกาย เรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่าง ไปทั่ว แหล่งหล้า
บ่งเวลา ว่ากลางวัน
เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ ทอแสงนวลใย
สุกใส อยู่ในท้องฟ้า
เราเห็น ดวงจันทรา
แสงแพรวตา เวลาค่ำคืน
เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาว พราวตา
เก็บเอามา ร้อยเป็น มาลัย
บูชาพระ ทั้งใช้ทำยา ก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนม ชื่นใจ
เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนาม แหลมคม
จะเด็ดดม ระวัง กายา
งามสดสี สมเป็น ดอกไม้มีค่า
เก็บเอามา ประดับไว้ ในแจกัน
เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขา ขันมัน ขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขา ขันมัน ขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรูๆๆ
เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอก มะลิ ที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอม ตามลม ไปไกล
หอมกลิ่น ชื่นใจ จริงเอย
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรื่องที่ 5 อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมคู่ เป็นศิลปะและดนตรีบำบัด ให้ทั้งค่วาดเส้นตรงทิศทางใดก็ได้ห้ามยกมือเช่นเดิม และระบายสีตามช่องปิดทุกช่อง ซึ่งงานชิ้นนี้
- เด็กได้สมาธิ
- ความอดทน
- ได้สังเกต
- มีมิติสัมพันธ์
- กล้ามเนื้อมัดเล็ก
- จินตนาการความคิดสร้างสรรค์
บอกถึงความรู้สึกนึกคิดได้ ขีดไปขีดมา คือการเปิดใจรับเพื่อน เด็กออทิสติกชอบสีเข้ม หนักๆ สีแรงๆเป็นการปลดปล่อยอารมณ์ แหลมๆหวัดเฉวียนภายในถาพ เป็นพวกที่คิดมาก ยิ่งใช้สีเยอะ บ่งบอกถึงความสับสนของตนเอง
- การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาของเด็กพิเศษ
- นำเพลงไปร้องให้เด็กฟัง สอนเด็กร้องเพลง ให้เป็นความเคยชินเพื่อจะได้รู้ว่า นี่คือกลางวัน กลางคืน และเสียงนกเขาเป็นอย่างไร ดอกมะลิทำอะไรได้บ้าง การเก็บและระวังในดอกกุหลาบ
- นำกิจกรรมวาดภาพระบายสีโดยใช้ดนตรีบำบัดไปใช้ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่บ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็กพิเศษได้ ทำให้เราเข้าใจในตัวของเด็กในขณะนั้น
การประเมิน
- ประเมินตนเอง : สนุกกับการร้องเพลงและทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนทั้งเซคเดียวกันและเซคอื่น
- ประเมินเพื่อน : ทุกคนตั้งใจเรียนและฟังในสิ่งที่อาจารย์กำลังพูดหรือสอนเนื้อหา และทุกคนดูสนุกกับการทำกิจกรรมศิลปะบำบัดทุกคนดูมีสมาธิในการทำงานมากคะ
- ประเมินอาจารย์ : ชอบที่อาจารย์นำกิจกรรมและข่าวสารมาเล่นและเล่าให้ฟังก่อนที่จะเริ่มเนื้อหา ชอบที่มีเพลงมาให้ร้องทุกๆสัปดาห์ ทำให้จิตใจเบิกบาน คะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น