ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย คะ

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 7

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 11 มีนาคม 2558
ครั้งที่  7 เวลา 08.30 - 12.20 น.  
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย




ความรู้ที่ได้รับ / กิจกรรมในห้องเรียน
                     เรื่องที่ 1  อาจารย์นำเรื่องของการสอบบรรจุมาเล่าให้ฟัง ซึ่งการสอบบรรจุมีอยู่ 3 ด่าน ภาค ก , ภาค ข และ สอบสัมภาษณ์

                      เรื่องที่ 2 นำกิจกรรมมาให้เล่น เรื่อง เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า   โดยการให้ทุกคนตอบคำถามตาม PWP ที่อาจารย์ให้คำถามมา ทุกคนต่างตอบของตนเองโดยไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วผลของคำตอบนั้นคืออะไร จนสุดท้ายเฉลยของอาจารย์ในการตอบนั้น ทำให้ทุกคนในห้องล้วนมีแต่ความสนุก ตลก ขบขัน ทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้ดีและทำให้มีความพร้อมที่จะเรียนมากขึ้น



                     เรื่องที่ 3  เข้าสู่เนื้อหา ในหัวข้อเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

  • ทักษะภาษา


  การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด

  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง
  • ติดอ่าง
การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่

  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ . ตามสบาย . คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การแสดงท่าทาง การแสดงสีหน้า
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า )
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไร ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ ( วิธีนี้ใช้ได้ดีมากกับเด็กพิเศษ )





                     เรื่องที่ 4  อาจารย์.ให้นักศึกษาร้องเพลงทบทวนจากครั้งที่แล้วทั้งหมดเพลงทั้ง 6 เพลง ก็จะมีเพลงดวงอาทิตย์ , เพลงดวงจันทร์ , เพลงดอกมะลิ , เพลงกุหลาบ , เพลงนกเขาขัน , เพลงรำวงดอกมะลิค่ะ


เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่ อาทิตย์ ทอแสงทอง
เป็นประกาย เรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่าง ไปทั่ว แหล่งหล้า
บ่งเวลา ว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ ทอแสงนวลใย
สุกใส อยู่ในท้องฟ้า
เราเห็น ดวงจันทรา
แสงแพรวตา เวลาค่ำคืน

เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาว พราวตา
เก็บเอามา ร้อยเป็น มาลัย
บูชาพระ ทั้งใช้ทำยา ก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนม ชื่นใจ

เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนาม แหลมคม
จะเด็ดดม ระวัง กายา
งามสดสี สมเป็น ดอกไม้มีค่า
เก็บเอามา ประดับไว้ ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขา ขันมัน ขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขา ขันมัน ขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรูๆๆ

เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอก มะลิ ที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอม ตามลม ไปไกล
หอมกลิ่น ชื่นใจ จริงเอย


                                                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ





                    เรื่องที่ 5  อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมคู่  เป็นศิลปะและดนตรีบำบัด ให้ทั้งค่วาดเส้นตรงทิศทางใดก็ได้ห้ามยกมือเช่นเดิม และระบายสีตามช่องปิดทุกช่อง ซึ่งงานชิ้นนี้ 
  1. เด็กได้สมาธิ
  2. ความอดทน
  3. ได้สังเกต
  4. มีมิติสัมพันธ์
  5. กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  6. จินตนาการความคิดสร้างสรรค์


นี่คือผลงานคู่ของหนู

บอกถึงความรู้สึกนึกคิดได้ ขีดไปขีดมา คือการเปิดใจรับเพื่อน เด็กออทิสติกชอบสีเข้ม หนักๆ สีแรงๆเป็นการปลดปล่อยอารมณ์ แหลมๆหวัดเฉวียนภายในถาพ เป็นพวกที่คิดมาก ยิ่งใช้สีเยอะ บ่งบอกถึงความสับสนของตนเอง




นี่คือผลงานของคู่เพื่อนทั้งห้องค่ะ





การนำไปประยุกต์ใช้
  • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาของเด็กพิเศษ
  • นำเพลงไปร้องให้เด็กฟัง สอนเด็กร้องเพลง ให้เป็นความเคยชินเพื่อจะได้รู้ว่า นี่คือกลางวัน กลางคืน และเสียงนกเขาเป็นอย่างไร ดอกมะลิทำอะไรได้บ้าง การเก็บและระวังในดอกกุหลาบ 
  • นำกิจกรรมวาดภาพระบายสีโดยใช้ดนตรีบำบัดไปใช้ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่บ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็กพิเศษได้ ทำให้เราเข้าใจในตัวของเด็กในขณะนั้น




การประเมิน
  • ประเมินตนเอง :   สนุกกับการร้องเพลงและทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนทั้งเซคเดียวกันและเซคอื่น
  • ประเมินเพื่อน :  ทุกคนตั้งใจเรียนและฟังในสิ่งที่อาจารย์กำลังพูดหรือสอนเนื้อหา และทุกคนดูสนุกกับการทำกิจกรรมศิลปะบำบัดทุกคนดูมีสมาธิในการทำงานมากคะ
  • ประเมินอาจารย์ :  ชอบที่อาจารย์นำกิจกรรมและข่าวสารมาเล่นและเล่าให้ฟังก่อนที่จะเริ่มเนื้อหา ชอบที่มีเพลงมาให้ร้องทุกๆสัปดาห์ ทำให้จิตใจเบิกบาน คะ


                    






วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 5 เวลา 08.30 - 12.20 น.  
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



ความรู้ที่ได้รับ / กิจกรรมในห้องเรียน
                     เรื่องที่ 1 อาจารย์นำกิจกรรมมาให้เล่น เรื่อง รถไฟเหาะแห่งชีวิต   โดยการให้ทุกคนตอบคำถามตาม PWP ที่อาจารย์ให้คำถามมา ทุกคนต่างตอบของตนเองโดยไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วผลของคำตอบนั้นคืออะไร จนสุดท้ายเฉลยของอาจารย์ในการตอบนั้น ทำให้ทุกคนในห้องล้วนมีแต่ความสนุก ตลก ขบขัน ทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้ดีและทำให้มีความพร้อมที่จะเรียนมากขึ้น







                     เรื่องที่ 2  เข้าสู่เนื้อหา ในหัวข้อเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
  • ทักษะทางสังคม 
  1. ส่งเสริมเริ่มจากตัวเด็กเอง
  2. เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคม
  3. การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
  • กิจกรรมการเล่น
  1. ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างๆที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง เช่น เพื่อนนั่งอยู่เด็กพิเศษเดินมาจะผลักเพื่อนและเดินต่อ
  2. การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  3. เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ยุทธศาสตร์การสอน
  1. เด็กพิเศษหลายคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ก็คือ ให้เอาเพื่อนเข้าไปเล่นด้วย สิ่งที่สังเกตคือ ดูเพื่อน เลียนแบบเพื่อน แต่ถ้าไม่มีเพื่อน ครูก็ต้องเข้าไปเล่นเป็นเพื่อน สอนวิธีการเล่น
  2. ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  3. จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  4. ครูจดบันทึก ห้ามลืม
  5. ทำแผน IEP
  • การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  1. วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายอย่าง เช่นจัดไว้หลายๆมุม
  2. คำนึงถึงเด็กทุกๆคน ไม่ใช่เด็กพิเศษอย่างเดียว ให้เล่นร่วมกันได้และดูความเหมาะสม
  3. ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน คละกันเด็กปกติที่เก่งๆผสมกับเด็กพิเศษ
  4. เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครู ให้เด็กพิเศษ
  • ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  1. อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
  2. ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  3. ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  4. เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ได้เยอะขึ้น
  5. ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
ห้าม เวลาที่เด็กทำงานศิลปะให้เด็กพิเศษทำให้เสร็จก่อน ค่อยเข้าไปคุย ไปชม ถ้าเราไปชม มันจะทำให้เด็กเปลี่ยนความคิดระหว่างทำ
  • การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  1. ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกันกับเพื่อน
  2. ทำโดย การพูดนำของครู
  • ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
  1. ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  2. การให้โอกาสเด็ก
  3. เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง  เช่น เด็กพิเศษตีกลองถึงคิวเพื่อนแล้วแต่น้องไม่ให้ ครูต้องบอกว่าตีอีก 10 ทีนะ แล้วส่งให้เพื่อน
เพิ่มเติม ของเล่นต้องมีน้อยกว่าจำนวน เช่นมีเด็ก 4 คน ให้ของเล่น 2 ชิ้น แต่ก็ไม่ควรให้ 1 คนต่อ 1 ชิ้น หรือน้อยจนเกินไป




                     เรื่องที่ 3   อาจารย์แจกเพลงใหม่ให้นักศึกษาและพานักศึกษาฝึกร้องเพลงทั้ง 6 เพลง ก็จะมีเพลงดวงอาทิตย์ , เพลงดวงจันทร์ , เพลงดอกมะลิ , เพลงกุหลาบ , เพลงนกเขาขัน , เพลงรำวงดอกมะลิค่ะ


เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่ อาทิตย์ ทอแสงทอง
เป็นประกาย เรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่าง ไปทั่ว แหล่งหล้า
บ่งเวลา ว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ ทอแสงนวลใย
สุกใส อยู่ในท้องฟ้า
เราเห็น ดวงจันทรา
แสงแพรวตา เวลาค่ำคืน

เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาว พราวตา
เก็บเอามา ร้อยเป็น มาลัย
บูชาพระ ทั้งใช้ทำยา ก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนม ชื่นใจ

เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนาม แหลมคม
จะเด็ดดม ระวัง กายา
งามสดสี สมเป็น ดอกไม้มีค่า
เก็บเอามา ประดับไว้ ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขา ขันมัน ขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขา ขันมัน ขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรูๆๆ

เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอก มะลิ ที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอม ตามลม ไปไกล
หอมกลิ่น ชื่นใจ จริงเอย


                                                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ





                    เรื่องที่ 4  อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเส้นและจุด เป็นศิลปะและดนตรีบำบัด เป็นงานคู่ คนวาดเก่งให้เป็นเส้น ลากเส้นไปตามดนตรีห้ามยกมือ ให้สีเทียนในการวาด วาดเอาอารมณ์ตามเสียงเพลงแต่ต้องมีวงกลม ส่วนคนเป็นวงกลมต้องจุดสีเทียนไปในวงทุกวงที่มีวงกลม

นี่คือผลงานคู่ของหนู




นี่คือผลงานของคู่เพื่อนทั้งห้องค่ะ







การนำไปประยุกต์ใช้
  • การใช้เทคนิคในการดึงเด็กพิเศษเข้าไปเล่นร่วมกับเด็กปกติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำพูดหรือชักชวน 
  • นำเพลงไปร้องให้เด็กฟัง สอนเด็กร้องเพลง ให้เป็นความเคยชินเพื่อจะได้รู้ว่า นี่คือกลางวัน กลางคืน และเสียงนกเขาเป็นอย่างไร ดอกมะลิทำอะไรได้บ้าง การเก็บและระวังในดอกกุหลาบ 








การประเมิน
  • ประเมินตนเอง :  สนุกกับกิจกรรมทั้งก่อนเรียนและก่อนเลิกเรียน มีความตั้งใจฟัง จดบันทึกเพิ่มเติม  วันนี้ร้องเพลงอย่างมีความสุขเพราะร้องเป็นเร็ว 
  • ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆมีีความสนุกสนานกับการร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม ผลงานของเพื่อนล้วนแต่ออกมาสวยๆทั้งนั้นเลย ต่างคนก็ต่างความคิดและจินตนาการ 
  • ประเมินอาจารย์ :  มีกิจกรรมมาให้เล่นเสมอ และมีเพลงมาสอนร้องเพื่อให้นักศึกษานำไปปฏิบัติและใช้จริงในอนาคต ทำให้การเรียนการสอนสนุกและมีความสุขไม่เครียดและซีเรียสจนเกินไป