บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 4 เวลา 08.30 - 12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่องที่ 1 อาจารย์แจกอุปกรณ์ให้มีถุงมือและกระดาษ A4 จากนั้นให้ใส่ถุงมือด้านที่ไม่ถนัด โดยที่อาจารย์ไม่บอกก่อนว่าจะทำอะไร เมื่อทุกคนสวมถุงมือแล้วอาจารย์ให้วาดมือข้างนั้นที่สวมถุงมือ เอารายละเอียดให้ครบทุกอย่าง แม้แต่เส้นเลือด รูขุมขน รอยหยัก แต่ผลออกมาคือ ไม่เหมือน บางทีก็ดูจากมือข้างที่ถนัด
ซึ่งเป็นการนำมาเปรียบถ้าอาจารย์ให้นักศึกษาวาดโดยมีมือเป็นแบบจริงๆ นักศึกษาจะวาดได้ดีกว่านี้ไหม แน่นอนต้องดีกว่าการที่ใส่ถุงมือไว้ ฉะนั้น เปรียบกับเด็ก เด็ก 1 คน เราอยู่กับเขาทั้งวัน ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง เห็นเด็กทุกวัน ทั้งเทอม ถ้ามาบันทึกท้ายเทอมครั้งเดียวยังไงก็จำไม่ได้
เพิ่มเติม การบันทึกเด็กพิเศษ ขอให้เหน็บกระดาษช็อทโน๊ตติดตัวไว้เสมอ พร้อมที่จะนำออกมาบันทึกตลอดเวลา ถึงแม้ต่อให้เห็นตอนเช้าแล้วมาบันทึกในตอนเย็น ก็คลาดเคลื่อนแล้ว
ซึ่งเป็นการนำมาเปรียบถ้าอาจารย์ให้นักศึกษาวาดโดยมีมือเป็นแบบจริงๆ นักศึกษาจะวาดได้ดีกว่านี้ไหม แน่นอนต้องดีกว่าการที่ใส่ถุงมือไว้ ฉะนั้น เปรียบกับเด็ก เด็ก 1 คน เราอยู่กับเขาทั้งวัน ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง เห็นเด็กทุกวัน ทั้งเทอม ถ้ามาบันทึกท้ายเทอมครั้งเดียวยังไงก็จำไม่ได้
เพิ่มเติม การบันทึกเด็กพิเศษ ขอให้เหน็บกระดาษช็อทโน๊ตติดตัวไว้เสมอ พร้อมที่จะนำออกมาบันทึกตลอดเวลา ถึงแม้ต่อให้เห็นตอนเช้าแล้วมาบันทึกในตอนเย็น ก็คลาดเคลื่อนแล้ว
เรื่องที่ 2 อาจารย์สอนเนื้อหาใน PWP วันนี้เราเรียนในหัวข้อ เรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ มีหัวข้อหลักดังนี้
ทัศนของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้นๆ
- สัมมนา
- สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง เช่น พฤติกรรมการเรียน
- มองเด็กให้เป็น " เด็ก "
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า (สำคัญมาก)
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
เพิ่มเติม มองแล้วเก็บไว้ในใจ อย่าไปมองชะงักเยอะ จะทำให้เด็กคนอื่นสงสัยรวมทั้งตัวเด็กด้วย
ตวามพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ >> คล้ายๆกัน
- แรงจูงใจ >> ต่างกันนิดหน่อย เช่น ทำไมถึงมาเรียนครูปฐมวัย
- โอกาส >> ในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเท่ากัน
เพิ่มเติม ห้องเรียนรวมที่ดีต้องมีขีดจำกัดน้อยๆ เด็กจะได้มีโอกาสเยอะๆ
การสอนโดยบังเอิญ (เป็นวิธีการสอนที่ดีมาก)
- เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้น เช่น การที่เด็กถือสีกุดๆมาให้ครู เพื่อให้ครูช่วย เมื่อครูช่วยแกะให้ ในขณะนั้นสามารถแทรกการสอนวิธีแกะกับเด็กได้
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- มีความสนใจเด็ก
- มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- มีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- มีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
เพิ่มเติม สื่อที่เหมาะกับห้องเรียนเรียนรวม ควรเป็นสื่อที่ไม่เล่นแบบตายตัว เป็นสื่อที่เล่นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่เป็นสื่อแยกแยะประเภทเด็ก และสื่อควรมีความหลากหลาย
ตารางประจำวัน
- เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
- การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
- คำถึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตและความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน เช่น โบเล่นของเล่นอยู่แต่เฟินไปหยิบมา แล้วโบก็รีบมาแย่งคืนแล้วบอกว่าของโบ ถือว่าเป็นการบรรลุเป้าหมาย คือไม่ให้โบตีเฟิน ให้รู้จักบอกเฟินว่านี่ของโบ
เพิ่มเติม ถ้าเด็กมาปรึกษาอย่าใช้เวลากับเด็กคนนั้นนานเกิน ใช้เวลาแปปเดียวแล้วรีบไปดูแลเด็กคนอื่นซะ
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ ฟังหูไว้หู
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เพิ่มเติม เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาสมีมากกว่าไร้ความสามารถ
เทคนิคการให้แรงเสริม (ทางสังคมจากผู้ใหญ่)
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป
เพิ่มเติม เด็กพิเศษบ้ายอ ชอบให้ครูชม
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา ชม
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ายิ้ม รับ ฟัง
- สัมผัสทางกาย กอด ลูบหัว
- ให้ความช่วยเหลือ
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
เพิ่มเติม กอดเด็กกอดแน่นๆ ถ้าอยากลงโทษเขา
หลักการให้เสริมแรงในเด็กปฐมวัย
- ให้แรงเสริมเด็กทันทีที่มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
เพิ่มเติม ชมเฉพาะเรื่องที่สอน เช่นการจับดินสอ ตัวอย่าง เด็กจับสีระบายภาพ ครูชมหนูจับดินสอสีดีมาก เก่งมากเลย และพอ ไม่ต้องไปชมว่าสีน้ำทะเลมีสีสดใสจังเลย สวยงามมากเลย ไม่จำเป็น
การแนะนำหรือบอกบท
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
เพิ่มเติม การบอกบทให้บอกคำตอบไปเลย เช่น สีเสื้อที่เฟินใส่สีอะไรคะ เด็กอื่นๆก็จะตอบเป็นสีอื่นๆ แล้วคุณครูก็บอกกับเด็กให้เด็กพูดตาม พูดตามครูนะคะ สีชมพู เป็นต้น
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น"
- ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน เช่นการเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง เช่น การสอนไปข้างหน้า ยกตัวอย่าง ตือ การตักซุป 1. การจับช้อน 2. การตัก 3. การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก 4. การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำหกรดคาง 5. การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก เริ่มต้นจากขั้นแรกสอนจับช้อน ให้เด็กได้ทำเอง หลังจากนั้น 2-5 ครูช่วยด้วย
- สอนแบบย้อน คือ 5-1 หรือ ยกตัวอย่างเช่น การผูกเชือกรองเท้า มัดให้เด็กตั้งแต่ต้น ผูกโบให้เรียบร้อย แล้วให้น้องดึงโบเอง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- งดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก 1
- เอาเด็กออกจากของเล่น 2
สำคัญ ครูทุกคนต้องมีความคงเส้นคงวา ต้นเทอมสอนยังไงท้ายเทอมต้องให้ได้อย่างงั้น เหมือนกับต้นเทอมเราตั้งใจเรียนและท้ายเทอมขี้เกียจ นี่เป็นแบบไม่คงเส้นคงวานั่นเอง
เรื่องที่ 3 อาจารย์มี post test มาให้ นศ ได้ทำ แต่คราวนี้เป็นการช่วยกันตอบทั้งห้อง
เรื่องที่ 4 อาจารย์ให้นักศึกษาทบทวนเพลงฝึกกายบริหารและพานักศึกษาฝึกร้องเพลงอีก 4 เพลงที่เหลือ ก็จะมีเพลงผลไม้ , เพลงกินผักกัน , เพลงดอกไม้ และ เพลงจ้ำจี้ดอกไม้คะ
เพลง ผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย ละมุด พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์
เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี
เพลง ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู
เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไง่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
- การบันทึกเราต้องบันทึกเลย ณ เวลานั้นๆ อย่าทิ้งไว้นาน ยังไงก็เคลื่อน
- นำเพลงไปร้องให้เด็กฟัง สอนเด็กร้องเพลง ให้เป็นความเคยชินเพื่อจะได้รู็ว่ามีผลไม้ ผัก และดอกไม้ชนิดไหนบ้างที่ควรรู้จัก และสามารถแยกเป็นว่าชื่อไหนดอกไม้ ชื่อไหนผลไม้ ชื่อไหนผัก
การประเมิน
- ประเมินตนเอง : มีความพยายามในการวาดภาพมาก ตั้งใจจดเพิ่มเติมจากคำพูดอาจารย์
- ประเมินเพื่อน : มีเล่นบ้าง คุยบ้าง แต่ก็รู้กาละเทศะดี ว่าช่วงไหนควรทำอะไร
- ประเมินอาจารย์ : สอนได้ดี เข้าใจง่ายเพราะตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพ ทำให้เนื้อหานั้นจำได้ง่ายมากขึ้น มีเรื่องมาเล่าตลอด แต่เรื่องเล่ามีความสำคัญต่อเด็กของอาจารย์ อาจารย์ใส่ใจและให้ความสำคัญกับนักศึกษาเสมอ